กระบวนการ Gelatin Dry Plate ของ ริชาร์ด_แมดด็อกซ์

  1. นำ Gelatin มาแช่นน้ำจนเปียกชุ่ม เพื่อใหมันอ่อนตัวและรอจนกระทั่ง Gelatin ละลายหมดในน้ำ
  2. เติมสารแคดเมียมโบรไมด์ ลงในน้ำยา Gelatin
  3. ตามด้วยน้ำยาเงินในเตรท (Silver Nitrate)
  4. แล้วนำน้ำยานี้ไปฉาบลงบนแผ่นกระจกแล้วผึ่งให้แห้งในห้องมืด

ในปี 1878 Charles Bennet ได้ปรับปรุงการทำ Dry Plate โดยเอา Plate ที่ฉาบแล้วมาล้างในขณะที่ Gelatin ยังแห้งไม่ สนิททั้งนี้เพื่อชะล้างเอาเกลือเงินที่อยู่ใน Emulsionออกให้หมด เพราะถ้าทิ้งไว้จะตกผลึกแข็งตัวอยู่ที่ผิวของ Plate ทำให้ Plate มีตำหนิ Charles Bennet ได้ปรับปรุงเกี่ยวกับความไวแสงให้ Plate มีความไวแสงมากขึ้น โดยนำ Emulsion ไปทำให้สุกโดยใช้ความร้อนหลังจากล้าง Emulsion แล้ว ทำให้สามารถใช้ Plate แห้งถ่ายภาพด้วยความเร็วถึง 1/25 วินาทีและได้ เนกาติฟ ออกมาเป็นผลดี จากการค้นพบนี้วงการถ่ายภาพทึ่งเป็นอย่างยิ่ง

ในช่วงนี้เองมีผู้ประกอบการพยายามลงทุนพัฒนา Dry Plate และมีร้านประเภท Photo finishing เกิดมากมายเพื่อบริการแก่ช่างภาพ โดยเฉพาะช่างภาพสมัครเล่น

ในปี 1901 Dr.Richard Leach Maddox ยังได้รับเหรียญรางวัล Royal Photographic Society’s จากผลงานที่เขาทำไปสู่พื้นฐานของอุตสาหกรรม Dry Plate แต่ Maddox ไม่ได้จดสิทธิบัตรของกระบวนการนี้ไว้ แต่ความคิดของ Maddox มีการนำไปพัฒนาต่อไปอีกและทำขายอย่างแพร่หลายในท้องตลาด

ใกล้เคียง